วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 2.3 การตรวจวัดคลื่นสัญญาณที่ขาอินพุต-เอาต์พุตของลอจิก

วัตถุประสงค์ของการทดลอง
1.ฝึกต่อวงจรโดยใช้ ไอซี 74HCT00 และ 74HCT14
2.รู้จักคุณสมบัติทางลอจิกของไอซี 74HCT00 และ 74HCT14
3.เพื่อฝึกการใช้ออสซิโลสโคปเพื่อวัดสัญญาณที่ขาอินพุตต์และขาเอาต์พุตของลอจิกเกต และวิเคราะห์สัญญาณที่ได้
4.รู้จักการใช้เครื่องกำเนิดสัญญาณเพื่อป้อนคลื่นสัญญาณไปยังขาอินพุตต์ของลอจิกเกต

รายการอุปกรณ์
1. แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด)                    1 อัน
2. ไอซี 74HCT00                                    1 ตัว
3. ไอซี 74HCT14                                    1 ตัว
4. สายไฟสําหรับต่อวงจร                        1 ชุด
5. ออสซิลโลสโคป (สายวัด 2 ช่อง)        1 เครื่อง
6. เครื่องกําเนิดสัญญาณ                         1 เครื่อง
7. แหล่งจ่ายควบคุมแรงดัน                     1 ชุด

ขั้นตอนการทดลอง
1. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ด โดยใช้ไอซี74HCT00 เพื่อสร้างลอจิกเกต NOT จํานวน 1 ตัว จากลอจิกเกต
NAND2 ตัวใดก็ได้ที่มีอยู่ภายในไอซีดังกล่าว

2. สร้างคลื่นสัญญาณสี่เหลี่ยมที่มีแอมพลิจูดอยู่ในช่วง 0V ถึง 5V (Vpp=5V, Voffset=2.5V) ความถี่
f=10kHz และมีค่า Duty Cycle = 50% โดยใช้เครื่องกําเนิดสัญญาณ แล้วป้อนที่ขาอินพุตของลอจิก
เกต NOT และต่อ Gnd จากเครื่องกําเนิดสัญญาณไปยัง Gnd ของวงจร (Gnd ร่วม)
3. ใช้ออสซิลโลสโคปวัดสัญญาณ โดยใช้ช่อง A วัดสัญญาณที่ขาอินพุต ใช้ช่อง B วัดสัญญาณที่ขา
เอาต์พุตของลอจิกเกต NOT และให้ต่อ Gnd ของออสซิลโลสโคป ไปยัง Gnd ของวงจร
4. สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างคลื่นสัญญาณอินพุตและเอาต์พุต (ปรับ Time/Div ไปที่ระดับ 10us และ
50ns ตามลําดับเพื่อดูรูปคลื่นสัญญาณในแต่ละกรณี) และวัดระดับแรงดันสูงสุดของสัญญาณเอาต์พุต
ที่ได้ (ให้บันทึกภาพที่ปรากฏบนจอแสดงผลของออสซิลโลสโคปด้วย)
5. ต่อวงจรไดโอดเปล่งแสงพร้อมตัวต้านทาน 330Ω หรือ 470Ω ที่ขาเอาต์พุตของลอจิกเกต NOT
6. ใช้ออสซิลโลสโคปวัดสัญญาณ โดยใช้ช่อง A วัดสัญญาณที่ขาอินพุต ใช้ช่อง B วัดสัญญาณที่ขา
เอาต์พุตของลอจิกเกต NOT
7. สังเกตความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีที่ไม่ได้ต่อวงจรไดโอดเปล่งแสงพร้อมตัวต้านทานที่ขา
เอาต์พุต และวัดระดับแรงดันสูงสุดของสัญญาณเอาต์พุตที่ได้ (ให้บันทึกภาพที่ปรากฏบนจอแสดงผล
ของออสซิลโลสโคปด้วย)
8. ยกเลิกการต่อวงจรไดโอดเปล่งแสงพร้อมตัวต้านทานที่ขาเอาต์พุตของลอจิกเกต NOT
9. เปลี่ยนรูปคลื่นสัญญาณอินพุต โดยสร้างคลื่นสัญญาณรูปสามเหลี่ยม Vpp=5V, Voffset=2.5V, f=1kHz
จากเครื่องกําเนิดสัญญาณ เพื่อป้อนให้ขาอินพุตของลอจิกเกต NOT
10. ใช้ออสซิลโลสโคปวัดสัญญาณ โดยใช้ช่อง A วัดสัญญาณที่ขาอินพุต ใช้ช่อง B วัดสัญญาณที่ขา
เอาต์พุตของลอจิกเกต NOT แล้วสังเกตผลที่ได้ (ให้บันทึกภาพที่ปรากฏบนจอแสดงผลของ
ออสซิลโลสโคปด้วย)
11. วัดระดับแรงดันอินพุตที่ทําให้เกิดจุดตัดของคลื่นสัญญาณจากช่อง A และ B
12. ยกเลิกการต่อวงจรโดยใช้ไอซี74HCT00 และให้ต่อวงจรบนเบรดบอร์ด โดยใช้ไอซีเบอร์ 74HCT14
เพื่อสร้างลอจิกเกต NOT จํานวน 1 ตัว (เลือกลอจิกเกต NOT ตัวใดก็ได้ที่มีอยู่ภายในไอซีดังกล่าว)
13. สร้างคลื่นสัญญาณรูปสามเหลี่ยม Vpp=5V, Voffset=2.5V, f=1kHz จากเครื่องกําเนิดสัญญาณ
เพื่อป้อนให้ขาอินพุตของลอจิกเกต NOT
14. ใช้ออสซิลโลสโคปวัดสัญญาณ โดยใช้ช่อง A วัดสัญญาณที่ขาอินพุต ใช้ช่อง B วัดสัญญาณที่ขา
เอาต์พุตของลอจิกเกต NOT แล้วสังเกตผลที่ได้ (ให้บันทึกภาพที่ปรากฏบนจอแสดงผลของ
ออสซิลโลสโคปด้วย)
15. วัดระดับแรงดันอินพุตที่ทําให้เกิดจุดตัดของคลื่นสัญญาณจากช่อง A และ B

ผลการทดลอง

ไอซี 74HCT00
             (คลื่นสัญญาณอินพุต เป็นคลื่นสัญญาณสี่เหลี่ยม)
    4.คลื่นสัญญาณอินพุตและเอาต์พุต (กรณีไม่ต่อไดโอดเปล่งแสง)
            - Time/Div = 10us

            - Time/Div = 50ns

    ระดับแรงดันสูงสุดของสัญญาณเอาต์พุตที่ได้ คือ 2.6*2=5.2 V

    7.คลื่นสัญญาณอินพุตและเอาต์พุต (กรณีที่ต่อไดโอด)
            - Time/Div = 10us


            - Time/Div = 50ns

    ระดับแรงดันสูงสุดของสัญญาณเอาต์พุตที่ได้ คือ 5.0*1=5.0 V

= ความแตกต่างระหว่างกรณี ต่อ กับ ไม่ต่อ LED คือ แรงดันเมื่อต่อ LED ค่าที่ได้จะลดลงนิดนึง

10.คลื่นสัญญาณอินพุตและเอาต์พุต (กรณีคลื่นสัญญาณอินพุต เป็นคลื่นสัญญาณสามเหลี่ยม)

-ระดับแรงดันอินพุตที่ทําให้เกิดจุดตัดของคลื่นสัญญาณจากช่อง Aและ Bคือ  ช่วงขาขึ้น 0.7*2 = 1.4 V
                                                                                                    ช่วงขาลง 0.5*2 = 1.0 V
ไอซี 74HCT14
14.คลื่นสัญญาณอินพุตและเอาต์พุต


-ระดับแรงดันอินพุตที่ทําให้เกิดจุดตัดของคลื่นสัญญาณจากช่อง AและBคือ ช่วงขาขึ้น 0.4*2 = 1.2 V
                                                                                                  ช่วงขาลง 0.8*2=1.6 V

ภาพประกอบการทดลอง
ใช้ไอซี74HCT00 เพื่อสร้างลอจิกเกต NOT จํานวน 1 ตัว คลื่นสัญญาณอินพุตเป็นคลื่นสี่เหลี่ยม (กรณีไม่ต่อไดโอดเปล่งแสง)

ใช้ไอซี74HCT00 เพื่อสร้างลอจิกเกต NOT จํานวน 1 ตัว คลื่นสัญญาณอินพุตเป็นคลื่นสี่เหลี่ยม (กรณีต่อไดโอดเปล่งแสง)

ผังการต่อวงจร กรณีต่อLED
breadboard view

schematic view

ใช้ไอซี74HCT00 เพื่อสร้างลอจิกเกต NOT จํานวน 1 ตัว คลื่นสัญญาณอินพุตเป็นคลื่นสามเหลี่ยม

ใช้ไอซี74HCT14เพื่อสร้างลอจิกเกต NOT จํานวน 1 ตัว คลื่นสัญญาณอินพุตเป็นคลื่นสามเหลี่ยม


คำถามท้ายการทดลอง
1. ในกรณีที่สร้างลอจิกเกต NOT จากเกต NAND ของไอซี74HCT00 และป้อนสัญญาณอินพุตเป็น
รูปคลื่นสี่เหลี่ยมตามที่ได้ทดลองไป จงระบุระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสัญญาณที่ขา
เอาต์พุตของลอจิกเกต NOT จาก HIGH เป็น LOW (ขอบขาลง) และจาก LOW เป็น HIGH (ขอบขา
ขึ้น) ตามลําดับ เมื่อวัดด้วยออสซิลโลสโคป
ตอบ  จากรูปในข้อ 4 คลื่นสัญญาณที่ขาเอาต์พุต (CH 2 เส้นสีแดง)
                                       
ระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสัญญาณจาก - HIGH เป็น LOW คือ 5*10us =50 us
                                                                    - LOW เป็น HIGH คือ 5*10us =50 us


2. ในกรณีที่สร้างลอจิกเกต NOT จากเกต NAND ของไอซี74HCT00 และป้อนสัญญาณอินพุตเป็น
รูปคลื่นสามเหลี่ยมตามที่ได้ทดลองไป จงอธิบายว่า จะได้คลื่นสัญญาณที่ขาเอาต์พุตของลอจิกเกต
NOT เป็นรูปคลื่นแบบใด และให้ระบุระดับแรงดันอินพุตที่ทําให้เกิดจุดตัดของคลื่นสัญญาณจากช่อง
A และ B (มีอยู่สองจุดตัด ในช่วงขาขึ้นและขาลงของสัญญาณอินพุต)
ตอบ   เป็นรูปคลื่น สัญญาณสี่เหลี่ยม   ตรงกันข้ามกับคลื่นสัญญาณที่ขาอินพุตต์ซึ่งเป็นสามเหลี่ยม
ระดับแรงดันอินพุตที่ทําให้เกิดจุดตัด  คือ ช่วงขาขึ้น เท่ากับ 1.4 V  ช่วงขาลง เท่ากับ  1.0 V

3. ในกรณีที่ใช้ ลอจิกเกต NOT ภายในไอซี74HCT14 และป้อนสัญญาณอินพุตเป็นรูปคลื่นสามเหลี่ยม
จงอธิบายว่า จะได้คลื่นสัญญาณที่ขาเอาต์พุตของลอจิกเกต NOT เป็นรูปคลื่นแบบใด และให้ระบุ
ระดับแรงดันอินพุตที่ทําให้เกิดจุดตัดของคลื่นสัญญาณจากช่อง A และ B (มีอยู่สองจุดตัด ในช่วงขา
ขึ้นและขาลงของสัญญาณอินพุต)
ตอบ    เป็นคลื่นสัญญาณสี่เหลี่ยม ระดับแรงดันอินพุตต์ที่ทำให้เกิดจุดตัด คือ ช่วงขาขึ้น เท่ากับ 1.2 V และ ช่วงขาลง เท่ากับ 1.6 V

4. อธิบายความหมายของคําว่า V+ และ V- ของ Schmitt-Trigger Inverter และถ้าอ้างอิงตามดาต้าชีท
ของไอซี 74HCT14 (ดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต) จงระบุค่า V+ และ V- ตามลําดับสําหรับ
VCC=+4.5V
ตอบ  V+ คือ positive-going threshold voltage  หรือ แรงดันช่วงขาขึ้น มีค่าระหว่าง  1.2 - 1.9 และ V- คือ negative-going threshold voltage หรือ แรงดันช่วงขาลง มีค่าระหว่าง 0.5 - 1.2

ขอบคุณที่มา http://www.nxp.com/documents/data_sheet/74HC_HCT14.pdf

5. จงระบุค่าโดยประมาณสําหรับ V+ และ V- สําหรับไอซี74HCT14 ที่สามารถดูได้จากผลการทดลอง
(ใช้สําหรับ VCC=+5V)
ตอบ  V+ เท่ากับ 1.2 V และ V- เท่ากับ 1.6 V



วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 1.2 การต่อวงจรโดยใช้ไอซีควบคุมแรงดัน

วัตถุประสงค์

1.ฝึกทักษะการต่อวงจรอิเล็กทรอนิคส์ บนเบรดบอร์ด
2.เพื่อเข้าใจวิธีการใช้และการทำงานของไอซีควบคุมแรงดัน 7805
3.ฝึกทักษะและเข้าใจ การใช้มัลติมิเตอร์ เพื่อวัดปริมาณทางไฟฟ้า 
4.รู้จักและเข้าใจวิธีการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์บางชนิด เช่น ไดโอด 1N4001 และ ตัวเก็บประจุแบบไม่มีขั้ว 100nF เป็นต้น

วัสดุอุกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

1.แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด)                   1 อัน
2.ไอซีควบคุมแรงดัน 7805                   1 ตัว                                           
3.ตัวเก็บประจุแบบมีขั้ว 100μF              1 ตัว
4.ตัวเก็บประจุแบบมีขั้ว 10μF                1 ตัว
5.ตัวเก็บประจุแบบไม่มีขั้ว 100nF          1 ตัว
       6.ตัวต้านทาน 330Ω หรือ 470Ω            1 ตัว
7.ไดโอดเปล่งแสงขนาด 5 มม.            1 ตัว
8.ไดโอด 1N4001                                 1 ตัว
9.สายไฟสำหรับต่อวงจร                       1 ชุด
10.มัลติมิเตอร์                                       เครื่อง

ขั้นตอนการทดลอง

1.ต่อวงจรบนเบรดบอร์ดตามผังวงจรในรูปที่ 1.2.3 (ผังวงจรควบคุมแรงดันคงที่โดยใช้ ไอซี 7805)

2.ใช้แหล่งจ่ายป้อนแรงดันคงที่ 6Vถึง12V โดยเพิ่มแรงดันขึ้นทีละ 1V ที่ตำแหน่ง JP1 (ตามผังวงจร)
เป็นแรงดันสำหรับ  Vin


3.ใช้มัลติมิเตอร์(โวลต์มิเตอร์)วัดแรงดันที่ขาอินพุต(IN) และขาเอาต์พุต(OUT) ของไอซี 7805 *** เทียบกับขา GND รวมทั้งจุด Vin และ Vout ของวงจร แล้วบันทึกผลลงในตาราง 1.2.1
4.วัดกระแสที่ไหลผ่าน LED 1 แล้วจดบันทึก
5.ทดลองป้อนแรงดันไฟเลี้ยง 9V กลับขั้ว(กลับทิศทางขั้วบวกขั้วลบ) ให้วงจร แล้วสังเกตผลที่ได้


ผลการทดลอง

แรงดันจากแหล่งจ่าย
แรงดันที่จุด Vin
แรงดันที่ขา IN ของไอซี 7805
แรงดันที่ขา out ของไอซี 7805
แรงดันที่จุด Vout
6V
6.129V
5.445V
3.990V
3.990V
7V
7.09V
6.399V
4.845V
4.845V
8V
8.13V
7.42V
5.074V
5.074V
9V
9.10V
8.40V
5.074V
5.074V
10V
10.11V
9.43V
5.074V
5.074V
11V
11.09V
10.40V
5.074V
5.074V
12V
12.14V
11.44V
5.074V
5.074V

                                                ตารางที่ 1.2.1
รูปถ่ายการทดลอง


วัด Vin ของวงจร

วัด แรงดันที่ขาอินพุต ของไอซี 7805

วัดแรงดันที่ขา out ของไอซี 7805

วัด Vout ของวงจร

ผังการต่อวงจรบนเบรดบอร์ด

breadboard view


schematic view
คำถามท้ายการทดลอง

1.จากการทดลอง ถ้าป้อนแรงดันอินพุตในช่วง 6V ถึง 12V ที่จุด Vin แรงดันที่จุด Vout ของวงจรจะคงที่เท่ากับ 5V หรือไม่ จงอธิบายโดยวิเคราะห์ตามผลการทดลองที่ได้
ตอบ แรงดันอินพุตที่จุดVin เท่ากับ 6V  แรงดันที่จุด Vout จะมีค่าน้อยกว่า 5V แต่เมื่อ ป้อนแรงดัน Vin เท่ากับ 7V จนถึง 12 V แรงดันที่จุด Vout ก็จะคงที่ที่ 5V 

2.ถ้าป้อนแรงดันอินพุตช่วง 6V ถึง 12V ที่จุด Vin จะได้ผลต่างระหว่างแรงดันที่จุด Vout ของวงจรและแรงดันที่ขา IN ของไอซี7805 อยู่ในช่วงใด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือไม่ และแรงดันตกคร่อมที่ตัวไดโอด 1N4001 จะได้ประมาณกี่โวลต์
ตอบ จะอยู่ในช่วงประมาณ 1-6 V โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และแรงดันตกคร่อมที่ตัวไดโอด 1N4001 
ประมาณ 0.694V

3.สำหรับวงจรในการทดลอง ถ้าจะให้ได้แรงดันคงที่ 5V สำหรับ Vout จะต้องป้อนแรงดันอินพุตที่ Vin อย่างน้อยกี่โวลต์
ตอบ อย่างน้อย 7โวลต์

4.ถ้าป้อนแรงดันอินพุต 9V 9V กลับขั้ว(กลับทิศทางขั้วบวกขั้วลบ) ให้  Vin และ Gnd จะทำให้ไดโอด "สว่าง" หรือไม่
ตอบ  ไดโอดไม่สว่าง

5.จากการทดลอง ถ้า LED1 ในวงจรให้แสงสว่าง จะมีกระแสไหลผ่าน LED1 ประมาณ.......มิลลิแอมป์
ตอบ  ประมาณ 10 mA